
ยกตัวอย่าง บ้านเรามีสมาชิกหลายเจเนอเรชั่น อินการแยกขยะมากน้อยต่างกันไป พอทำสัญญาใจว่าจะแยกขยะรีไซเคิล ขยะอาหาร และขยะกำพร้า ก็เหมือนจะเอาจริงเอาจังกันในตอนเริ่มต้น แต่ด้วยความที่ครัวซึ่งเป็นแหล่งสร้างขยะขนาดใหญ่ไม่มีที่ให้จัดวางถังแยกขยะในจุดเดียวกัน ต้องแยกขวดซอกนั้น แยกถุงก๊อบแก๊บซอกนี้ อีกลิ้นชักนึงเก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ แต่ถ้าจะแยกถุงแกงที่ล้างตากแห้งแล้ว จะต้องเปิดประตูออกไปหลังบ้านอีกจุดหนึ่ง ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความท้อแท้ อุตส่าห์ล้างถุงแกงมันๆ ตากแห้งได้ แต่ก็หมกไว้กับขวดพลาสติกในที่สุด เผอเรอหย่อนยานนิดหน่อย ถุงแกงก็คงถูกพี่ซาเล้งปล่อยเบลอ ลงบ่อฝังกลบเรียบร้อยเพราะขายต่อไม่ได้เหมือนขวดพลาสติก
ส่วนที่ออฟฟิศ แม้จะประสบความสำเร็จกว่า ด้วยความที่สั่งถังขยะ Sortera ยอดฮิตของอิเกียมาหลายใบ วางซ้อนได้ มีฝาปิดเปิดเป็นระเบียบเรียบร้อยดี แยกขยะได้แยะ แต่ก็ใช้พื้นที่ไม่น้อย พอจะเอาโมเดลเดียวกันนี้ไปใช้ที่คอนโดฯ ที่สมาชิกและพื้นที่น้อยลงก็เป็นไปได้ยาก แต่ก็ยังดีที่พี่อิเกียเจ้าของเดียวกันเข้าใจอุปสรรคของเรา ออกซีรีส์ Dimpa เป็นถุงแยกขยะจากพลาสติกสไตล์กระเป๋าแม่ค้าบ้านเรา แต่มีโครงตั้งได้ไม่ยู่ยี่ และดูแข็งแรงดี ไม่พังง่าย ขนาดยัดไว้ใต้เคาน์เตอร์ครัวได้ ไม่ใหญ่โตกินที่ จะซื้อแบบเป็นเซ็ต 3 ใบ หรือจะซื้อเพิ่มทีละใบก็ได้ มีกระดุมให้ติด-ต่อกันได้กับถุงข้างๆ คือจะแยกแยะ แยกน้อย แยกตามพื้นที่ที่มี ก็ปรับเพิ่ม ปรับลดเอาเอง และกิมมิกน่ารักคือมีหูให้หิ้วไปดรอปตามจุดรับได้ง่าย ทำให้การเริ่มต้นแยกขยะไปจนถึงปลายทางในการส่งขยะไปที่ชอบที่ชอบ ไม่ใช่เรื่องยากเย็นเท่าเดิม
และด้วยความที่การแยกขยะของบ้านเรายังไม่สามารถรวมศูนย์ได้ชัดเจนส่งครบในจุดเดียว เราก็ต้องแยกขยะตามวิถีชีวิตประมาณนึง เช่น เอาล่ะ ที่บ้านมีพี่ซาเล้งแวะเวียนมาประจำ จากที่จะแบ่งถุงนึงขวด ถุงนึงแก้ว ถุงนึงกระป๋อง ก็รวมถุงนึงที่เป็นขยะที่พี่เขาขายได้แน่ๆ ไปเลย หรือปกติคนส่วนใหญ่จะแยกขยะกระดาษกัน แต่บ้านเราไม่ได้มีเยอะขนาดรวบรวมได้จำนวนใหญ่ก็ไม่ต้องมี (ทิ้งรวมเป็นขยะกำพร้าเผาทำเป็นพลังงานแล้วกัน) หรือสารพัดถุงแกงและพลาสติกเดลิเวอรี่ที่มีเยอะขึ้นเมื่อ Work from home เราพบว่าจากบ้านไปจุดรับขยะของ Recycle Day พอจะเป็นไปได้ (แต่ไม่มีที่ให้แยกถุงย่อยแล้ว) เราก็ทิ้งรวมกันในถุงเดียว แล้วมีวันแยกแยะ รื้อมาแยกก่อนส่งต่ออีกที เป็นต้น แม้ยังมีขยะที่ต้องยอมแพ้ทิ้งลงบ่อฝังกลบบ้าง แต่ก็น้อยลงกว่าเดิมมากทีเดียว
แน่นอน มันยุ่งยากชีวิตกว่าทิ้งรวมๆ ถังเดียวแน่อยู่แล้ว แต่ถ้าเราหยุดสร้างขยะไม่ได้ ก็คงจะเบาใจขึ้นหน่อยถ้าเรารับผิดชอบด้วยการจัดการให้มันสร้างผลกระทบต่อโลกน้อยลงอีกนิด และพยายามต่อสู้กับความล้มเหลวเท่าที่ทำได้
เรื่องอื่นยังไม่ยอมแพ้ เรื่องนี้ก็แพ้ไม่ได้อยู่แล้ว!
Read More:

#จับฉลากของขวัญเคยรัก หมายเลข 2 | เจ้าของเก่า: บี
ของขวัญเคยรักปริศนาหมายเลข 2 ที่จะนำมาจับฉลากสิ้นปีนี้ในธีม จับฉลากของขวัญเคยรัก!

#จับฉลากของขวัญเคยรัก หมายเลข 1 | เจ้าของเก่า: โอ๋
ของขวัญเคยรักปริศนาหมายเลข 1 ที่จะนำมาจับฉลากสิ้นปีนี้ในธีม จับฉลากของขวัญเคยรัก!

ทดลองเว้นระยะห่างกับ ‘ทิชชู่’ 1 เดือน
มนุษย์เสพติดทิชชู่อย่างเราจะทำได้ไหม?