Work —— i hate love Monday

สวัสดีวันจันทร์ ฉันจะไม่เป็นคน Toxic

สำหรับหลายคน (หรืออาจเป็นคุณที่กำลังอ่านอยู่) คำว่า ‘วันจันทร์’ อาจดูเหมือนฝันร้าย เพราะมันเท่ากับการต้องไปดีลกับเรื่องชวนปวดหัวทั้งจากเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน หรือลูกค้า จนเสียงในหัวตะโกนออกมาดังมาก (โดยเฉพาะในคืนวันอาทิตย์) ว่าทำไมวันจันทร์ของฉันถึงได้รายล้อมไปด้วยความ toxic! สมรภูมิแห่งอารมณ์นี้ไม่จบง่ายๆ จนพาลกลายเป็นคน toxic ใส่คนรอบข้างตามไปด้วย โอ๊ย! ขอไม่ไปทำงานได้ไหมเนี่ย

ช้าก่อน ผู้พิชิตวันจันทร์! เรามาต้อนรับวันใหม่ด้วยการตั้งเป้าหมายให้ตัวเองกันหน่อยดีกว่า เริ่มจากท่องคาถาในใจ ‘วันนี้ฉันจะไม่เป็นคน toxic’ (แล้วก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อให้กับความ toxic รอบตัวด้วย) ท่องจบคงมีหลายคนเถียงว่าเรื่องแบบนี้พูดง่ายแต่ทำยาก พวกเทคนิคฝึกอารมณ์และดีลกับจิตใจมันจะทำได้มากสักแค่ไหนกันเชียว ก่อนถึงวันจันทร์นี้ เราเลยขอชวน ฝ้าย-กันตพร สวนศิลป์พงศ์ นักจิตวิทยาการปรึกษา จากศูนย์บริการปรึกษา MasterPeace มาเป็นกองเชียร์ ส่งเทคนิคและกำลังใจให้ทุกคนผ่านวันจันทร์ไปได้แบบไร้ toxic กัน

“ถ้าถามว่าวิธีดีลกับความ toxic ของผู้คนรอบข้างนี่ทำได้จริงไหม มันก็มีวิธีที่ทำได้จริงอยู่ แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทำแล้วจะเห็นผลทันทีทันใด เพราะกลับมาที่ธรรมชาติมนุษย์

การจัดการเชิงความรู้สึกย่อมเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ก็คือทำความเข้าใจว่าความรู้สึกนั้นคืออะไร และเราจะดีลกับมันอย่างไร

“ในมุมแรก หากเจอผู้ร่วมงานที่ toxic เราอยากให้ทุกคนย้อนกลับมาถามตัวเองดูว่าความ toxic ที่เรานิยามให้คนอื่นมันคืออะไร เมื่อเจอสิ่งนั้นเรารู้สึกอย่างไร แล้วเราเคยแก้ปัญหาที่ว่านี้หรือยัง เช่น เราชอบเจอเจ้านายที่บั่นทอน ในจังหวะนั้นเราอาจรู้สึกว่าเจ้านายพูดให้เรารู้สึกไร้ค่ามาก แต่เมื่อผ่านไป ลองกลับมาถามตัวเองอีกทีว่าเราจะรับมือกับเรื่องนี้ด้วยวิธีการใหม่ได้ไหม เราจะเติมสกิลอะไรที่จะช่วยรับมือได้หรือเปล่า หรือเราหา support system จากเพื่อนร่วมงานดีๆ มาช่วยสะท้อนเราได้ไหม ว่าเราเป็นแบบที่เจ้านายพูดจริงหรือ

“แล้วอย่าลืมสร้างขอบเขตที่ชัดเจนให้ตนเองด้วย ว่าจุดไหนเราควบคุมได้ จุดไหนเราควบคุมไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่าทุกคนมีพื้นฐานที่ต่างกัน การแสดงออกเลยต่างกัน บางครั้งเราจึงไม่สามารถคาดหวังการเปลี่ยนแปลงจากตัวเองและคนอื่นแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ได้อยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งไหนที่คิดว่าไม่ไหว ก็ควรหาระยะห่าง พยายามรักษาขอบเขตให้ตัวเอง ที่สำคัญคือต้องสร้าง self compassion หรือความเมตตากรุณาต่อตัวเองให้ได้ด้วย เมื่อเจออะไร เราจะได้ยังเป็นมิตรกับตัวเอง ไม่จมดิ่งกับมันมากเกินไป

“ในทางปฏิบัติ มันก็คือการฝึกสตินี่แหละ อาจจะฟังดูน่าเบื่อ แต่สิ่งนี้ช่วยได้มากจริงๆ ลองทำ breath excersice ดูก็ได้ การหายใจเข้าออกช้าๆ เป็นจังหวะ โดยอาจจะหายใจออกช้ากว่าหนึ่งจังหวะ มีผลต่อระบบประสาทจริง วิธีนี้จะช่วยให้เราคูลดาวน์ตัวเอง และสร้างความสงบให้ตัวเองได้ อย่างน้อยทำสั้นๆ ก็ยังดี ในระยะยาวเราจะตามตัวเองทันว่าเรารู้สึกนึกคิดอย่างไร จนท้ายสุดเราจะไม่ดิ่งไปกับการปะทะจากภายนอก

“สอง หากรู้สึกอะไรให้ระบายออกมาทางกระดาษ ขีดเขียนให้เป็นรูปธรรม เราจะพบว่าปัญหาต่างๆ มันมีทางเชื่อมโยงไปหาสาเหตุและการแก้ปัญหาได้ ยิ่งภาพเราชัดเท่าไหร่ เราจะยิ่งเห็นทางออกมากขึ้นว่าปัญหานี้ต้องดีลกับคนนี้ อีกปัญหาต้องดีลกับใคร เรามีทรัพยากรอะไรอีกบ้าง และที่สำคัญเราต้องสร้างขอบเขตการทำงานและพักผ่อนให้ชัดเจน ให้เรื่องงานไม่มาเกี่ยวข้องกับชีวิตส่วนตัวของเราจนมากเกินไปด้วย

“ในอีกด้าน หากเราไม่อยากเป็นคน toxic สิ่งสำคัญที่จะช่วยเราได้ก็คือสติอีกเหมือนเดิม ซึ่งมันไม่แปลกเลยหากบางวันเราจะเป็นคน toxic บ้าง เพราะในชีวิตของเราไม่ได้ถือเรื่องงานเรื่องเดียวอยู่แล้ว หลายอย่างมันอาจจะบั่นทอนเราได้ ดังนั้นหมั่นสังเกตตัวเองเรื่อยๆ อย่าปล่อยให้ความรู้สึกสะสม

หมั่นสำรวจจิตใจตัวเองว่าเป็นอย่างไรบ้าง พักผ่อนเยอะๆ กินอาหารให้อิ่ม นอนให้พอ ร่างกายที่แข็งแรงจะมาพร้อมกับสภาพจิตใจที่ดี แล้วเราจะรู้ทันตัวเองมากขึ้น ไม่เผลอสะสมความเครียดความกังวลท่วมท้นข้างใน จนปรี๊ดหรือหงุดหงิดกับคนรอบข้าง

“สิ่งสำคัญมากในการทำงาน คือรู้ทันความคาดหวังของตัวเอง และไม่เอาไปใส่คนอื่น เพราะเมื่อคนอื่นทำไม่ได้ดั่งใจเรา เราก็อาจจะรู้สึกหงุดหงิด โมโห ซึ่งเผลอทำให้เรากลายเป็นคน toxic ใส่คนอื่นโดยไม่รู้ตัว ลองเปลี่ยนมาทำงานแบบแชร์ฟีดแบ็กกันมากขึ้น บางทีคนอื่นก็อาจจะมีวิธีการทำงานที่เวิร์กในแบบของเขาเองเหมือนกัน”

“ในภาพรวมเราเลยอยากพูดถึงเรื่อง empathy ด้วย เพราะหัวใจของการทำงานร่วมกันก็คือ empathy นี่แหละ คือเราจะคิดไม่เหมือนกันก็ไม่เป็นไร แต่เราควรจะเปิดพื้นที่การยอมรับให้ความคิดเห็นและความรู้สึกที่หลากหลาย เพราะอย่าลืมว่าที่ทำงานก็คือที่ที่คนต่างภูมิหลังมาอยู่รวมกัน ถ้าเราพยายามเข้าใจเขามากขึ้น เราก็จะพบว่าจริงๆ เพื่อนร่วมงานก็คือมนุษย์คนหนึ่งนั่นแหละ แล้วเราก็จะพร้อมซัพพอร์ตกันทั้งในวันที่ดีและไม่ดี แบบนี้การทำงานจะเป็นการเติบโตไปด้วยกัน ไม่ใช่การทำงานแบบเป็นสมรภูมิรบ

“สุดท้ายมันก็คือการสร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนสามารถคุยกันได้ อาจจะลองฝึกจากเวลาเรารู้สึกชอบอะไรในที่ทำงาน ก็มาแชร์กัน หรือเปิดช่วงสั้นๆ ก่อนประชุมเพื่อถามไถ่ความเป็นไปของทุกคน พอเรารับรู้เรื่องราวของทุกคนมากขึ้น เราก็จะหาจุดร่วมตรงกลับมาเจอกับเทคนิคใหม่ๆ จากพวกเราและเพื่อนในแวดวงต่างๆ ได้ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนกลางเจอว่าการทำงานแบบไหนที่จะเหมาะกับทุกคน เพราะการทำงานมันเป็นเรื่องของความรู้สึกด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องของ KPI หรือผลประกอบการอย่างเดียว

“แล้วถ้าสุขภาพใจดี well being ดี งานมันก็จะดีเองแหละ”

เตรียมพร้อมสำหรับวันจันทร์ แล้ว เอาล่ะ สู้ๆ มนุษย์ออฟฟิศ!

Content Designer

#อดีตนิสิตภาควารสารฯ #เรียนจบแล้ว #นักเขียน

Communication Designer

#กราฟิกดีไซเนอร์ #นิสิตออกแบบสื่อสาร

Read More:

Work สาระสำคัญ

work from home ยังไง ให้งานยังเวิร์ก!

วิธีทำงานให้รอดและอยู่อย่างปลอดภัย เมื่อต้อง work from home

Work สาระสำคัญ

มันคงเป็น KRAM รัก เมื่อของพรีเมียมองค์กรก็มี 'คราม' ใส่ใจโลก

ของพรีเมียมองค์กรที่ย้อม ‘คราม’ ใส่ใจโลก ให้คนในก็รัก คนนอกก็เลิฟ

Work จากผู้ใช้จริง

รีวิวยกออฟฟิศไปเวิร์กช็อปศิลปะบำบัดที่ Studio Persona

เมื่อ ili ยกออฟฟิศ (ที่มีกันแค่ 6 ชีวิต) ไปสตูดิโอศิลปะบำบัด