ในบริบทที่ไทยขึ้นมาอีกหน่อย คำที่ชาวเน็ตเขาพิมพ์กันแบบทับศัพท์ว่า ‘โว้ก’ นี้ มักใช้อ้างถึงการกระทำของคนที่ตื่นตัวกับประเด็นปัญหาในสังคมต่างๆ เช่น ความเท่าเทียมทางเพศ สิ่งแวดล้อม ประชาธิปไตย หรือสิทธิมนุษยชน (ประมาณว่ามีดวงตาเห็นธรรมแล้ว ตาสว่างแล้ว) นอกจากตระหนักรู้ ในขั้นกว่าการ ‘โว้ก’ อาจรวมไปถึงการออกมาพูดหรือชี้ปัญหานี้เพื่อให้คนอื่นได้รับรู้และเบิกเนตรไปด้วยกันได้
แต่ในช่วงหลัง คำว่า ‘โว้ก’ เริ่มถูกตีความจนนิยามและการนำไปใช้แตกแขนงหลากหลายจนกลายเป็นปัญหา บางครั้งถูกใช้เพื่อแปะป้ายนิยามชาวเน็ตนักฉอด ชอบอวดภูมิที่คอยเปิดประเด็นสังคมสั่งสอนชาวเน็ตคนอื่น หรือบางครั้งหลายคนก็อาจจะเคยเห็นคำประเภท ‘โว้กเป็นหย่อมๆ’ หรือ ‘fake woke’ ที่ใช้อ้างถึงคนที่พูดประเด็นสำคัญบางเรื่อง แต่กลับปิดหูปิดตากับบางประเด็นได้อย่างหน้าตาเฉย
ถ้ามองกันอย่างเข้าอกเข้าใจขึ้นหน่อย เรื่องบางเรื่องก็อาจต้องใช้เวลามากทีเดียวกว่าจะสามารถทำความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ ดังนั้น หากวันนี้เรายังไม่โว้กในเรื่องไหน แล้วมีใครอยากจะชูประเด็นสังคมอะไรขึ้นมาให้เราเข้าใจ การเปิดหู เปิดตา เปิดใจ และร่วมคิดไตร่ตรองไปกับประเด็นนั้นๆ อีกนิดก็คงไม่ใช่เรื่องเสียหาย เพราะคำว่าโว้กไม่ได้มีไว้เพื่อแปะป้ายหรือหาเรื่องใคร แถมการพบเห็นคนโว้กในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอัตรา ก็น่าจะเป็นเรื่องดีกว่าการจะไปด่วนตัดสินเขาว่าเป็นคนแบบไหนนะ อย่าเพิ่งมองหรือใช้คำว่าโว้กในด้านลบไปก่อนเลย
Read More:
ร่วมด้วยช่วยซื้อ ชวนกินช้อปใกล้บ้าน แล้วช่วยกันแชร์ร้านที่น่าอุดหนุน
ชวนไปชิม ช้อป สินค้าจากร้านรายย่อยน่าอุดหนุน ผ่านความช่วยเหลือของเหล่าชาวเน็ต
ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งรื้อ
เมืองกำลังจะเปลี่ยนไป เราหวังอะไรได้ไหมกับการเปลี่ยนแปลง
ฉันอ่าน ฉันจึงมีหวัง
อ่าน 6 หนังสือฝีมือนักเขียนไทย ที่ทำให้รู้ว่าการต่อสู้นี้ยังมีหวัง